เผย เทคนิคปลูกกล้วยน้ำว้าอย่างไร…ให้มีขายตลอดปี สูตร อ.กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง
การปลูกกล้วยน้ำว่าให้มีขายตลอดปี ด้วยกล้วยน้ำว่า สายพันธุ์ใหม่ (ปากช่อง 50) พัษนาโดย อ.กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง ที่พัฒนามาเป็น 10 ปี จนได้ต้นกล้วยที่ให้ผลดก ลูกใหญ่ ตรงความความต้องการของตลาด
สามารถปลูกได้ทั้งปี ปลูกได้ทุกสภาพดิน โดยการปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโต โดยอาจารย์แนะนำว่า การเริ่มต้นปลูกควรที่จะปลูกจากต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (เมื่อต้นได้ประมาณ 5-6 เดือน กล้วยจะแตกหน่อ ค่อยนำหน่อกล้วยที่ปลอดโรคไปขยาย ไปปลูกได้ตามปกติ) เพราะจะปลอดจากโรค ถ้าไปเอาหน่อจากไร่อื่น ๆ มาปลูก หน่อกล้วยอาจติดโรคมาจากต้นแม่ได้ เช่น โรคตายพราย หนอนกอ โรคพวกนี้เราจะไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จะแสดงอาการ เมื่อต้นกล้วยเริ่มจะออกปลีเท่านั้น
ขนาดต้นที่เหมาะสมสำหรับการนำไปปลูก (จากต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ)
– ควรเลือกต้นที่มีขนาดความสูง มากกว่า 15 ซม. แต่ถ้าต้นเล็กกว่านั้น จะต้องทำการอนุบาลก่อน ให้ต้นสูงเกิน 15 ซม. ค่อยนำไปปลูกได้
จุดเด่นของกล้วน้ำว่าพันธุ์ปากช่อง 50
– ให้ผลดกมาก ประมาณ 10 หวีขึ้นไป สุดสุดประมาณ 15 หวี (กล้วยทั่วไปจะได้ประมาณ 8 หวี)
– น้ำหนักต่อเคลือประมาณ 30 กก.
– รสชาติหวานนุ่ม ใส่เหลือง เมื่อนำไปเชื่อมจะเหนียวนุ่ม บวชชีจะเหนียวหนึบ ทำกล้วยทอดก็ดี ทำแป้งกล้วยจะได้คุณภาพดี ทำกล้วยตากจะได้ กล้วยตากที่นุ่ม ไม่แข็งกระด้าง
วิธีการปลูก
– ระยะห่างการปลูกประมาณ 3*3 เมตร
– ไถพรวน แล้วตากดินไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื่อโรคที่อยู่ในดิน
– แนะนำให้ขุดหลุมที่ไหญ่ ขนาด 50 คูณ 50 คูณ 50 เพราะว่า ถ้าขุดหลุมเล็ก เมื่อขึ้นปีที่ 2 จะเกิดโคนลอย เนื่องจาก เมื่อรากใหม่ที่แทงออกไป ไปเจอดินแข็ง รากจะแทงขึ้นด้านบน แต่ถ้าปลูกในหลุมที่มีขนาดใหญ่ เมื่อรากจะแทงลงด้านล่าง ซึ่งจะทำให้ต้นกล้วยแข็งแรง ลมแร็งก็ไม่ล้ม
– ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 2-3 กก/หลุม ใส่รองก้นหลุ่มแล้วคลุกเคล้ากับดินที่ก้นหลุม (ไม่แนะนำให้ใช้ขี้วัวในการปลูกกล้วย เพราะอาจมีหนอนกอระบาดได้)
การให้ปุ๋ย
– เดือนแรก ให้ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ (15-15-15 หรือ 16-16-16) ประมาณ 150-200 กรัม โรยรอบโคน เดือนละครั้ง จากนั้นสับกลบ
– เมื่อเข้าเดือนที่ 3 จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่ให้ใส่ปุ๋ยคอก (ปุ๋ยขี้ไก่) แล้วสับกลบ
– เดือนที 4-5 ให้ปุ๋ยเม็ดเหมือนเดิม
– หลุดให้ปุ๋ยเมื่อถึงเดือนที่ 6 รอจนกระทั้งต้นกล้วยแทงปลีออกมา แล้วค่อยเริ่มให้ปุ๋ยเม็ด (เคมี) อีกที
การให้น้ำ
ควรติดสปริงเกอร์สำหรับให้น้ำ เพราะจะช่วยประหยัดต้นทุนแรงงานลงได้ และให้น้ำในช่วงหน้าร้อน อย่างสม่ำเสมอ
การแต่งใบ
– ไม่ควรให้มีใบมากจนทึบ ควรแต่ใบให้โปรง ในแต่ละต้น ตัดให้เหลือใบอย่างน้อย 7 ใบ (ถ้าต่ำกว่า 7 ใบ ลูกจะไม่ค่อยใหญ่)
เทคนิคการไว้ต้นต่อกอ (ให้มีขายตลอดปี)
– ไว้แบบไล่อายุ คือ
* เมื่อต้นแม่ (ต้นแรก) มีอายุ 6 เดือน (จะเริ่มแตกหน่อ) จะไว้หน่อที่ 1 เมื่อหน่อที่ 1 มีอายุ 3 เดือน จะไว้หน่อที่ 2 เมื่อหน่อที่ 2 มีอายุ 3 เดือน ก็จะไว้หน่อที่ 3 โดยไว้หน่อห่างกันทุก ๆ 3 เดือน ไปเรื่อย ๆ ทำอย่างนี้ ท่านก็จะมีกล้วยไว้ได้ขายตลอดทั้งปี (ที่ไว้ห่างกันทุก ๆ 3 เดือน เพราะในแต่ละช่วงอายุ ต้นกล้วยต้องการสารอาหารไม่เหมือกัน ดังนั้นต้นกล้วยจะดูอาหารไปใช้ได้ทั้งหมด และจะได้กล้วยขายตลอดทั้งปี)
วิธีการตัด
สามารถใช้วิธีโคนลงมาได้เลย อาจมีคนรอรับเคลือเพื่อกันไม่ได้เคลือกล้วยกระแทกพื้น
การเก็บเกี่ยว
จะเก็บเมื่อเคลือกล้วยได้ขนาดประมาณ 80-90 %
เรื่องโรค
– โรคตายพราย
เป็นโรคที่อยู่ในน้ำยาง ไม่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า จะแสดงอาการก็ต่อเมื่อ กล้วยเริ่มแตกเคลือ
– อาการ
ต้นที่ติอเชื่อจะแสดงอาการเมื่อเริ่มแตกเคลือ ใบจะเป็นสีเหลืองออกสีทอง
– การระบาด
สามารถติดจากต้น สู่ต้น จากมีดที่ใช้ตัด
– การป้องกัน
ควรใช้ต้นที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ
– การแก้ไข
ถ้ามีต้นที่ติดเชื้อในสวน ควรริบตัดแล้วนำไปเอาทำลาย และที่สำคัญ จะต้องล้างทำความสะอาดมีดที่ใช้ตัด (ต้นที่ติดเชื้อ) ให้สะอาด
ข้อแนะนำจาก อ.กัลยาณี สุวิทวัส
ถ้าคิดจะปลูกกล้วยน้ำว้า จะต้องเลือกเรื่องของ
1. พันธุ์เป็นลำดับแรก
2.เลือกแหล่งหน่อที่ปลอดโรค
3.เปิดใจยอมรับเทคนิคการผลิตรูปแบบใหม่ เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่ดีขึ้น เช่น
3.1 หลุมปลูก ควรขุดให้ใหญ่
3.2 ระยะการให้ปุ๋ย
3.3 ควรนำระบบน้ำมาช่วย
ถ้านำรูปแบบใหม่มาใช้ จากการเก็บสถิติ จะสามารภทำให้ขายได้มากกว่า แบบเดิมอยู่ที่ประมาณ 5000-10000 / ไร่
พี่น้องเกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 044311796 ติดต่อ อ.กัลยาณี สุวิทวัส
ขอบคุณความรู้จาก: อ.กัลยาณี สุวิทวัส